บทความ

ควรกินอะไร ทดแทนน้ำตาล

ปัจจุบันมีคนจำนวนไม่น้อยติดอาหารรสชาติหวาน เพราะรู้สึกกินแล้วสดชื่น อร่อย และมีความสุข ซึ่งหารู้ไม่ว่าความหวานเหล่านี้หากกินมากเกินไปอาจก่อให้เกิดโรคได้ เช่น โรคเบาหวาน การเลือกสารให้ความหวานแทนน้ำตาลเป็นทางเลือกหนึ่งที่เหมาะสำหรับคนรักสุขภาพ ผู้ที่ควบคุมน้ำหนัก หรือผู้ป่วยเบาหวาน ที่ยังต้องการความหวานอยู่บ้าง ซึ่งสารให้ความหวานคืออะไรและมีอะไรบ้างมี ดังนี้
สารให้ความหวานสามารถแบ่งได้เป็นสองประเภทคือ

1.สารให้ความหวานชนิดให้พลังงาน เช่น แมนนิทอล ไซลิทอล ซอร์นิทอล สารให้ความหวานชนิดนี้จะไม่เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำหนัก และผู้ป่วยโรคเบาหวาน

2. สารให้ความหวานไม่ให้พลังงาน หรือให้พลังงานต่ำ เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำหนัก หรือผู้ป่วยที่เป็นเบาหวาน เช่น แอสปาแตม สติวีโอไซด์ (หญ้าหวาน) ซูคราโลส แซคคาริน
2.1 แอสปาแตม ให้ความหวาน 180-200 เท่าของน้ำตาลทราย จึงใช้ในปริมาณที่น้อยมาก อาจมีรสขม (ถ้าโดนความร้อน) นิยมใส่ในเครื่องดื่ม น้ำอัดลม
ข้อดี ไม่ก่อให้เกิดฟันผุ ไม่กระตุ้นน้ำตาลในเลือด
ข้อเสีย สลายตัวในอุณหภูมิที่สูง
2.2 สติวีโอไซด์ (หญ้าหวาน) สารให้ความหวานที่ปลอดภัย
ข้อดี ทนความร้อนได้ 200 องศาเซลเซียสโดยไม่สลายตัว นอกจากสามารถใส่ในเครื่องดื่มแล้ว สามารถใส่ในอาหารที่ผ่านความร้อนได้ และยังไม่มีรายงานผลแทรกซ้อน
2.3 ซูคราโลส สารให้ความหวานที่ปลอดภัย ไม่สะสมในร่างกาย
ข้อดี ไม่มีรสขม เฝื่อน ติดปลายลิ้น มีรสชาติคล้ายน้ำตาลทราย ไม่มีพลังงาน ใช้ปรุงอาหารที่ใช้ความร้อนสูงได้
ข้อเสีย ทำให้กระเพราะไวต่อสิ่งกระตุ้น และอาจเกิดปวดศีรษะได้ในบางคน
2.4 แซคคาริน ให้ความหวานมากกว่าน้ำตาลทราย 200-700 เท่า
ข้อดี รสชาติหวาน ให้พลังงานต่ำ
ข้อเสีย หากใช้มากจะมีรสชาติขม และหากกินต่อเนื่องเป็นเวลานานในปริมาณสูง กินวันละประมาณ 6 ครั้ง อาจมีผลเพิ่มความเสี่ยงของการเป็นมะเร็งกระเพาะปัสสาวะได้
แม้ว่าสารให้ความหวานเหล่านี้จะทนแทนความหวานของน้ำตาลได้ เหมาะสำหรับผู้ป่วยเบาหวานหรือผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำหนัก แต่หากกินมากเกินไปก็อาจก่อให้เกิดโทษได้เช่นกัน ดังนั้นควรกินแต่พอดี เลือกกินอาหารที่น้ำตาลน้อย มีประโยชน์ กินผัก ผลไม้ในปริมาณที่เพียงพอในแต่ละวัน และออกกำลังกายสม่ำเสมอ เพื่อสุขภาพที่แข็งแรงอย่างยั่งยืน

แหล่งที่มา: มหาวิทยาลัยมหิดล

    โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย

PPTV 36 HD

Posttoday.com

ผู้เขียนบทความ: น.ส.กิรณา สมวาทสรรค์ ผู้ตรวจบทความ: นางศิริวรรณ ตึกขาว  

         

Related posts

Leave a Comment

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า
Social media & sharing icons powered by UltimatelySocial