บทความ

เสพติดอันตราย….บุหรี่ไฟฟ้าก่อโรค

บุหรี่ไฟฟ้า คืออะไร ?

บุหรี่ไฟฟ้าหรือที่วัยรุ่นเรียกว่า “พอด” คือ อุปกรณ์การสูบชนิดหนึ่งที่ถูกนำไปใช้กับน้ำยาในบุหรี่ไฟฟ้าเป็นไอระเหยด้วย ความร้อน ในน้ำยาของบุหรี่ไฟฟ้ามีส่วนผสมของสารเคมีอีกหลายชนิด เช่น สารนิโคติน ซึ่งเป็นสารเสพติด และยังตรวจพบ สารเคมีอันตรายอื่น ๆ ผสมอยู่ด้วย เช่น น้ำยากำจัดวัชพืช และน้ำยาล้างเล็บ

ทำไมเด็กถึงเสพติดบุหรี่ไฟฟ้าง่าย และเสพติดไปโดยไม่รู้ตัว ?

ด้วยรูปลักษณ์ของบุหรี่ไฟฟ้า ที่ออกแบบให้เป็นที่สนใจของเด็กวัยรุ่นปัจจุบัน เช่น มีรูปร่างเหมือนปากกา แฟล็ชไดร๊ฟ (Flash Drive) รูปตัวการ์ตูนต่าง ๆ พกพาสะดวก อีกทั้งมีกลิ่น มีรสชาติที่หลอกล่อ กระตุ้นความสนใจ ให้อยากรู้อยากลอง ทำตามคนอื่นโดยไม่ได้คิดให้รอบคอบ และเสพติดไปโดยไม่รู้ตัว ส่งผลให้เกิดปัญหาด้านสุขภาพตามมา ซึ่งครูและผู้ปกครองบางท่านอาจไม่ทราบว่าลูกหลานของท่าน กำลังเสพติดบุหรี่ไฟฟ้าอยู่ และไม่รู้ถึงอันตรายที่จะเกิดขึ้นกับตัวเด็กและคนรอบข้าง

อันตรายที่เกิดจากบุหรี่ไฟฟ้า สร้างโรคอะไรกับเด็กที่สูบได้บ้าง ?

อันตรายที่ส่งผลต่อสุขภาพของเด็กที่สูบ ได้แก่ เกิดการระคายเคือง ไอ เหนื่อยง่าย เสี่ยงที่จะเกิดโรคระบบทางเดินหายใจ ระบบหลอดเลือดและหัวใจ ภาวะหลอดเลือดแข็ง จังหวะการเต้นของหัวใจผิดปกติ ความดันโลหิตสูง เซลล์สมองถูกทำลาย อาจทำให้เกิดอาการวิงเวียนศีรษะ ปวดศีรษะ นอนไม่หลับ ความจำลดลง เรียนหนังสือไม่รู้เรื่อง อาจเกิดแผลในกระเพาะ คลื่นไส้ อาหารไม่ย่อย กรดไหลย้อน และอาจก่อโรคมะเร็งได้ โดยที่บุหรี่ไฟฟ้าไม่ได้เป็นอันตรายเพียงเฉพาะตัวผู้สูบเท่านั้น คนรอบข้างที่สูดดมควันเข้าไปก็จะได้รับผลในระยะยาวต่อการพัฒนาสมอง ระบบประสาทและหน่วยความจำได้อีกด้วย

Stop ! หยุดการเข้าถึงบุหรี่ไฟฟ้าในเด็กวัยรุ่น

การเริ่มสูบบุหรี่ไฟฟ้าตั้งแต่อายุยังน้อย จะเพิ่มโอกาสเป็นผู้เสพติดบุหรี่ไฟฟ้าไปตลอดชีวิต และเพิ่มความเสี่ยงการเกิดโรคจากอันตรายของบุหรี่ไฟฟ้ามากขึ้น ดังนั้น การป้องกันไม่ให้เด็กวัยรุ่นเข้าถึงบุหรี่ไฟฟ้าได้ พ่อ แม่ ผู้ปกครองและคนใกล้ชิด ต้องช่วยกันเฝ้าระวัง สอดส่องดูแล สังเกตพฤติกรรม ห้ามปราม เตือนให้เห็นถึงอันตรายจากบุหรี่ไฟฟ้า และเป็นแบบอย่างที่ดีด้วยการไม่สูบบุหรี่หรือบุหรี่ไฟฟ้า รวมถึงทำให้บ้านเป็นพื้นที่   ปลอดบุหรี่และบุหรี่ไฟฟ้า เพื่อให้เด็กวัยรุ่น วัยเรียน ซึ่งเป็นลูกหลานของท่านมีความรู้ความเข้าใจอย่างถ่องแท้ ไม่ไปยุ่งเกี่ยวกับสารเสพติดอันตราย บุหรี่ไฟฟ้าก่อโรค

แหล่งข้อมูล :     1)  มหาวิทยาลัยมหิดล  2)  สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี 10 เมษายน 2567

Related posts

Leave a Comment

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า
Social media & sharing icons powered by UltimatelySocial