บทความ

Long Covid กับกลุ่มอาการเหนื่อยล้าหลังติดเชื้อ

โดย พจ.รณกร โลหะฐานัส

กลุ่มอาการเหนื่อยล้าหลังติดเชื้อ (Post-infective fatigue syndrome, PIFS) หมายถึงอาการเหนื่อยล้าที่รุนแรงและต่อเนื่อง หลังจากการติดเชื้อที่ไม่สามารถอธิบายได้ด้วยเงื่อนไขทางการแพทย์ ซึ่งมีมาอย่างน้อย 6 เดือนและส่งผลต่อการทำงานประจำวันอย่างมีนัยสำคัญ

สาเหตุของกลุ่มอาการ PIFS

เกิดขึ้นจากหลายสาเหตุ ตั้งแต่ความเสียของเนื้อเยื่อปอดหรือหัวใจ การทำงานของไซโตไคน์ผิดปกติอย่างต่อเนื่อง การเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างและการทำงานของกล้ามเนื้อ การบาดเจ็บภายในสมองหรือระบบประสาทส่วนปลาย ทั้งยังมีรายงานอีกว่ากลุ่มอาการ PIFS มีอัตราความชุกของความเหนื่อยล้าในแถบยุโรปที่สูงกว่าภูมิภาคอื่นๆ

อาการแสดงของกลุ่มอาการ PIFS

มักเกี่ยวข้องกับอาการทางระบบทางเดินหายใจหลายอย่าง เช่น เหนื่อยหอบ หายใจลำบาก เจ็บหน้าอก ไอเรื้อรัง ปวดศีรษะ วิงเวียน เป็นต้น

แนวทางการรักษา

ทางการแพทย์แผนจีนจะให้การรักษาด้วยการฝังเข็มหรือจ่ายยาสมุนไพร ด้วยการตรวจวินิจฉัยตามกลุ่มอาการ ซึ่งการฝังเข็มจะเลือกใช้จุด LU7, LI4, ST36, SP6, SP9, SP10, HT7, KD6, TH5, GD41, LR3, LR8 เป็นจุดหลักในการรักษา

แนวทางการปฏิบัติตัว

  1. หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายอย่างหักโหม เพื่อไม่ให้ภาวะปอดหรือหัวใจทำงานหนักเกินไป
  2. นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
  3. หลีกเลี่ยงการทานอาหารที่มีรสหวาน หรือมันเลี่ยน

อ้างอิง

  1. Sharpe M.C., Archard L.C., Banatvala J.E., Borysiewicz L.K., Clare A.W., David A., et al. A report–chronic fatigue syndrome: guidelines for research. J. R. Soc. Med.
  2. Sandler C.X., Wyller V.B.B., Moss-Morris R., Buchwald D., Crawley E., Hautvast J., et al. Long COVID and post-infective fatigue syndrome: a review. Open forum. Infect. Dis. Ther. 2021;8(10) doi: 10.1093/ofid/ofab440.
  3. Omland T., Mills N.L., Mueller C., Care E.A.A.C. Cardiovascular biomarkers in COVID-19. Eur. Heart J.-Acute CA. 2021;10(5):473–474. doi: 10.1093/ehjacc/zuab037.
  4. Halpin SJ, McIvor C, Whyatt G, et al. Postdischarge symptoms and rehabilitation needs in survivors of COVID-19 infection: A cross-sectional evaluation. J Med Virol 30 July 2020; Epub ahead of print.
  5. Michael Hollifield, Karen Cocozza, Teresa Calloway, Jennifer Lai, Brianna Caicedo, Kala Carrick, Ruth Alpert, and An-Fu Hsiao.Improvement in Long-COVID Symptoms Using Acupuncture: A Case Study.Medical Acupuncture.Jun 2022.172-176.

Related posts

Leave a Comment

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า
Social media & sharing icons powered by UltimatelySocial