อาการง่วงนอนมากผิดปกติในเวลากลางวัน
โดย นพ.นพดล ตรีประทีปศิลป์
อาการง่วงนอนมากผิดปกติในเวลากลางวันคือ อาการที่คนเราไม่สามารถตื่นหรือตื่นตัวได้ระหว่างวันในสถานการณ์ หรือเหตุการณ์ที่สำคัญส่งผลให้ไม่สามารถระงับการนอนหลับ หรือภาวะง่วงนอนได้แม้อยู่ในสถานการณ์นั้น ๆ ในบางรายอาจมีอาการรุนแรงที่เรียกว่า โรคลมหลับ ซึ่งหมายถึง การมีอาการง่วงนอนที่ไม่สามารถต้านทานได้จนหลับไปแบบทันทีทันใดไม่ทันรู้สึกตัว
อาการร่วม : อ่อนเพลีย สมองเฉื่อยชา มึนงง
สาเหตุหลัก ๆ :
- จำนวนช่วงโมงที่นอนไม่เพียงพอ
- คุณภาพการนอนที่ไม่ดี ทำให้หลับ ๆ ตื่น ๆ ตื่นบ่อย เช่น อาจจะเกิดจากภาวะนอนกรนหยุดหายใจขณะหลับ หรือ ภาวะขาอยู่ไม่สุขขณะหลับ
- ปัจจัยอื่น ๆ เช่น จากยาบางตัวที่ทำให้ง่วง, โรคทางกาย เช่น ภาวะบกพร่องฮอร์โมน ไทรอยด์ หรืออาการเจ็บป่วยทางจิต เช่น โรคซึมเศร้า หรือ โรคจากการหลับ เช่น ภาวะลมหลับ
เมื่อใดควรพบแพทย์ :
- เมื่อรู้สึกความง่วงระหว่างวันนั้นมีปัญหารบกวนกับคุณภาพชีวิตหรือการทำงาน
- หากปัญหาที่เกิดขึ้นนั้นเป็นปัญหาที่รีบด่วน เช่น งีบหลับหรือหลับในขณะขับรถจนเกือบเกิดอันตราย หรือไม่สามารถ ทำางานระหว่างวันได้ก็ควรรีบปรึกษาแพทย์
ขอบคุณข้อมูลจาก https://www.gj.mahidol.ac.th/main/knowledge-2/exccessive-daytime-sleepiness/