บทความ

“ทำไมอาหารถึงทำให้เราป่วย”

การกินอาหารที่ไม่เหมาะสมนำไปสู่โรค NCDs ได้อย่างไร ?

กลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง หรือโรค NCDs เกิดจากการมีพฤติกรรมเสี่ยงต่าง ๆ ได้แก่ การกินอาหารที่มีรสจัด การดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ การสูบบุหรี่จัด รวมถึงการออกกำลังกายที่ไม่เพียงพอ โดยอาการในกลุ่มโรค NCDs นี้ จะไม่ป่วยโดยทันที แต่จะค่อย ๆ สะสมจนเกิดโรคในอนาคต ซึ่งกลุ่มโรค NCDs ที่มีผู้ป่วยและผู้เสียชีวิตสูงสุด ได้แก่ โรคเบาหวาน โรคหลอดเลือดสมองและหัวใจ โรคถุงลมโป่งพอง โรคมะเร็ง  โรคความดันโลหิตสูง และโรคอ้วนลงพุง

กินอาหารไม่เหมาะสม ทำให้เราป่วยเป็นโรค NCDs ได้อย่างไร ?

พฤติกรรมการกินที่ไม่เหมาะสม อาจทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการเป็นโรค NCDs ได้ ดังนี้

  1. กินแต่คาร์โบไฮเดรต เช่น กินบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปจะได้แต่แป้ง ขาดสารอาหารประเภทวิตามิน โปรตีน และแร่ธาตุ ทำให้เกิดโรคอ้วน
  2. กินแต่ข้าวขัดขาว จะได้รับไฟเบอร์หรือใยอาหารน้อย ควรกินข้าวกล้อง หรือขนมปังโฮลวีทร่วมด้วย
  3. กินเฉพาะเนื้อสัตว์ใหญ่ ๆ เป็นประจำ เช่น เนื้อวัว เนื้อหมู เนื้อเป็ด เนื้อไก่ โดยโปรตีนจากเนื้อสัตว์ถ้าใช้ไม่หมด ร่างกายจะแปรรูปเป็นไขมัน และเก็บสะสมไว้ในร่างกาย ส่งผลให้เป็นโรคอ้วน
  4. กินรสหวานจัด หรือกินน้ำตาลในปริมาณมากเกินความต้องการของร่างกาย กลายเป็นไขมันสะสม
  5. กินอาหารมันจัด ทำให้ไขมันไปสะสมในร่างกาย นำไปสู่โรคอ้วนเช่นกัน
  6. กินรสเค็มจัด นำไปสู่ภาวะความดันโลหิตสูง และโรคไต

ปรับพฤติกรรมการกิน ช่วยลดความเสี่ยงโรค NCDs ได้

  1. กินอาหารให้ครบ 5 หมู่ และหลากหลายในปริมาณที่พอดี เพื่อให้ร่างกายได้สารอาหารครบถ้วน
  2. กินปลาเป็นหลัก เพราะปลามีโปรตีนที่มีคุณภาพ ย่อยง่าย มีไขมันต่ำ มีโอเมก้า 3 ป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือด มีแคลเซียมและแร่ธาตุ และควรกินปลาเป็นประจำ สัปดาห์ละ 3-4 ครั้ง
  3. กินผักเป็นพื้น เพราะผักและผลไม้ เป็นแหล่งวิตามินและแร่ธาตุ อุดมด้วยใยอาหาร มีสารต่อต้านอนุมูลอิสระ และสร้างภูมิต้านทานให้ร่างกาย
  4. กินอาหารที่ปรุงจากวัตถุดิบธรรมชาติ ผ่านการปรุงแต่งน้อย เลือกใช้อาหารสด ลดอาหารแช่แข็ง อาหารหมักดอง และอาหารแปรรูป
  5. เลือกกินอาหารประเภทต้ม แกง ย่าง ยำ อบ นึ่ง หรือน้ำพริก ลดการกินของทอดและของมัน
  6. ลดอาหารหวานจัด มันจัด เค็มจัด โดยกินน้ำตาลไม่เกิน 6 ช้อนชา/วัน น้ำมันไม่เกิน 6 ช้อนชา/วัน และเกลือไม่เกิน 1 ช้อนชา/วัน

นอกจากการปรับพฤติกรรมการกินอาหารให้เหมาะสมตามข้อแนะนำดังกล่าวข้างต้น ควรออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ พักผ่อนให้เพียงพอ ทำจิตใจให้แจ่มใส งดสูบบุหรี่ และงดดื่มแอลกอฮอล์ หากปฏิบัติเช่นนี้ จะช่วยลดความเสี่ยงของการเจ็บป่วยด้วยโรค NCDs ได้

แหล่งข้อมูล :     1)   สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) 2) สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ 

1 พฤศจิกายน 2567

Related posts

Leave a Comment

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า
Social media & sharing icons powered by UltimatelySocial